จุดกำเนิดธงฟ้าราคาประหยัด
จากความสำเร็จมากมายของโครงการส่งเสริมสินค้าไทย และโครงการสินค้าราคาประหยัดสู่ชนบท ที่สามารถลดภาระค่าครองชีพในกับประชาชนได้ทั้งประเทศ ทำให้เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะราคาตลาดน้ำมันโลก และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงมากทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดหาสินค้าราคาถูกให้กับประชาชน จึงได้มีการเริ่มต้น โครงการคาราวานสินค้าลดค่าครองชีพปี 2553 เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้โอกาสซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่ต่ำกว่าปกติและเพิ่มหรือขยายช่องทางดารตลาดได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
โครงการคาราวานสินค้าลดค่าครองชีพปี 2533 พัฒนามาจากโครงการคาราวานสินค้าเดิมและโครงการสินค้าราคาประหยัด ณ จังหวัดนครราชสีมาโดยเน้นให้มีการดำเนินการที่ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถจัดงานในจังหวัดต่างๆให้มากที่สุด โดยสามารถดำเนินการได้ถึง 48 จังหวัด และได้เริ่มมีการรับสมัครผู้ผลิต (แทนจำหน่ายหรือร้านค้า ให้เข้าร่วมงานในระยะยาวเพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนจัดซื้อสินค้าและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างยอดขาย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดราคาสินค้าให้ถูกกว่าท้องตลาดได้ การดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจทำให้มีการเพิ่มระยะเวลาจัดงาน 2-3วัน เป็น 3-7วัน และมีการปรับปรุงแนวทางดำเนินการ เช่น การจัดทำเต็นท์เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันกำหนดเวลาที่จะต้องจัดงานต่อเนื่องกัน
โครงการคาราวานสินค้าลดค่าครองชีพปี 2533 ได้รับความสำเร็จในระดับที่หน้าจะพอใจและบรรลุวัตถุประสงค์หลักคือสามารถลดค่าครองชีพของประชาชนในจังหวัดที่จัดงาน นอกจากนี้โครงการสามารถสร้างความตื่นตัว อีกั้งทำให้ผู้มีอาชีพจัดงานในลักษณะเดียวกันได้ถือโอกาสจัดกิจกรรมลดสินค้าเป็นพิเศษในช่วงก่อนหรือในขณะที่ขบวนคาราวานสินค้าของกรมการค้าภายในได้เดินทางไปถึงจังหวัดนั้นๆด้วย
อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดงานดังกล่าวก็มีการร้องเรียนจากผู้ประกอบการภายในจังหวัดว่าเกิดผลกระทบจากการจัดคาราวานสินค้า ประกอบกับในระยะต่อมากรมฯได้รับการสนับสนุนด้านงบประมารดังกล่าวลดลง ทำให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวจึงต้องลดลงมาตามไปด้วย
พ.ศ. 2534 ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วประชาชนประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นอีกครั้ง กรมการค้าภายในจึงได้จัดทำ “โครงการธงฟ้าราคาประหยัด” ดำเนินการเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2534 โยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากผูผลิตและตัวแทนจำหน่ายโดยตรงในราคาประหยัด ถือเป็นการเกิดขึ้นของคำว่า “ธงฟ้า” เป็นครั้งแรก
“ธงฟ้า”ถือกำเนิดมาจาก “สีฟ้า” ซึ้งเป็นสีประจำพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาสอดคล้องกับสีมอคราม ซึ่งเป็นสีของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีแนวคิดว่าสีฟ้า เป็นสีแห่งความเอื้ออาทรเป็นที่พึ่งของประชาชน กรมการค้าภายในได้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายรับรอง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2535 ซึ่งผู้ประสงค์จะใช้ต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายใน หากผู้ใดนำไปใช้โดยมิได้รับอนุญาตย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และอานมีความผิดตามประมวนกฎหมายอาญา หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
นับจากนั้นเป็นต้นมา โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ได้นำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายเพื่อมุ่งช่วยเหลือภาระค่าครองชีพและเพิ่มช่องทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าขอประชาชน โดยดำเนินการเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นและพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจและความเหมาะสมของพื้นที่เป็นหลัก
โครงการธงฟ้าราคาประหยัดได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.2547 ภาวะนำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากรัฐบาลในขณะนั้นจึงได้จัดทำโครงการเอื้ออาทรขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้า และมีแนวคิดเปลี่ยนชื่อธงฟ้าราคาประหยัดเป็นสินค้าเอื้ออาทร
แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในยังคงใช้ชื่อโครงการ ธงฟ้าราคาประหยัด และได้ดำเนินโครงการเพื่อเป็นมาตรการเสริมในการกำกับดูแลราคาสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งได้ขยายการดำเนินโครงการธงฟ้าราคาประหยัดในหลายกิจกรรมดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างถั่วถึง ได้แก่
- ตลาดนัดธงฟ้าเพื่อผู้บริโภค
- ธงฟ้าเคลื่อนที่สู่ชุมชน
- อิ่มทั่วฟ้าราคาเดียว
- มุมธงฟ้า
- ธงฟ้าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดให้กับประชาชนโดยการนำสินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าเกษตรที่จำเป็นต่อการครองชีพจากผูผลิตโดยตรงไปจำหน่วยให้กับประชาชน ในราคาถูกกว่าราคาตลาดทั่วไปร้อยละ 20-40 ในพื้นที่ต่างๆได้ดำเนินการเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นโดยพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจและความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อมุ่งช่วยเหลือลดค่าภาระค่าครองชีพและเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าของประชาชนกระตุ้นให้มีการแข่งขันในตลาดเพื่อให้ประชาชนมีอำนาจต่อรองในการซื้อสินค้ามากขึ้น
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ส่งผลให้มีการชะลอการปรับราคาสินค้าโดยทั่วไป และทำให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค (Consumer price index - CPI) อยู่ในระดับที่เหมาะสม จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่าโครงการธงฟ้าในรูปแบบตลาดนัดธงฟ้าเพื่อผู้บริโภค โครงการอิ่มทั่วฟ้าราคาเดียว ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วประเทศ